เมนู

สองบทพระคาถาว่า เอเต กามา ปวุจฺจนฺติ ยตฺถ สตฺโต
ปุถุชฺชโน
ความว่า ปุถุชน ติด ข้อง เกี่ยวพัน ผูกพันอยู่ในเครื่องข้อง
และเปลือกตมอันใด.
บทว่า อุปาทาเน ได้แก่ ในอุปาทาน 4 อย่าง. บทว่า ชาติมรณ-
สมฺภเว
ความว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นปัจจัยแห่งชรา และมรณะ. บทว่า
อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ ได้แก่ หลุดพ้นไปเพราะไม่ยึดมั่น. บทว่า ชาติมรณ-
สงฺขเย
ได้แก่ ในพระนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ
ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมพ้นด้วยวิมุตติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์. ภิกษุนี้
บรรลุแล้ว ซึ่งพระอรหัตผลนั่นแล โดยไม่หมุนไปในฐานะนี้. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยผู้เป็นพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
เต เขมปตฺตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมปตฺตา ได้แก่
ถึงซึ่งความเกษม. บทว่า สุขิโน ได้แก่ ถึงความสุขโดยโลกุตรสุข. บทว่า
ทฏฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา ได้แก่ ดับสนิทแล้ว ในทิฏฐธธรรมนี้แหละ เพราะ
ไม่มีกิเลสในภายใน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะแล้ว
ในคาถาจึงตรัส ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ 3

4. หิมวันตสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ทำลายอวิชชาได้


[295] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม 6
ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด